วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคกลาก

   
  https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSSXwOuw_HXDexkGhgG2pGJe4w4vYqWuaGF1PV7ytoBMp0L9tnF1A

โรคกลาก (ringworm, dermatophyte) กลาก (ringworm, dermatophyte)  บางคนเรียกกันว่า ขี้กลาก เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ โรคกลากเป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา เชื้อกลากอาจติดจากคนสู่คน สัตว์สู่คน หรือติดจากพื้นดิน เชื้อกลากในรูปสปอร์เมื่อมีสภาพเหมาะสม เชื้อจะขยายเป็นสายใยเข้าทำลายชั้นผิวหนังกำพร้า(epidermis) เส้นผมหรือแผ่นเล็บ เชื้อกลากจะต้องอาศัยสารเคอราตินเป็นอาหารในการเจริญเติบโตและสภาพอับชื้นที่เหมาะสมจะส่งเสริมให้โรคกำเริบ ดังนั้นประเทศในเขตร้อนชื้นจึงพบโรคกลาก

บ่อยกว่าประเทศในเขตหนาว 
     ลักษณะของผื่นจะเป็นผื่นแดง วงกลม มีขอบเขตชัดเจน รูปร่างคล้ายวงแหวน มีสะเก็ดลอกขุยที่ขอบวงแหวน ถ้าผื่นลุกลามขยายออกวงกว้างขึ้นจะยิ่งเห็นรูปร่างวงแหวนชัดเจนยิ่งขึ้น แต่บางครั้งอาจไม่เห็นเป็นรูปร่างแบบวงแหวนแต่ก็จะเป็นผื่นสีแดงที่มีขอบเขตค่อนข้างจะชัดเจน รอยผื่นกลากอาจมีลักษณะเป็นขุยแห้งๆ หรือบางรายเป็นผื่นอักเสบรุนแรง เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อกลากแตกต่างกัน ที่สำคัญผื่นดังกล่าวจะมีอาการคัน บางคนจะคันมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืนจะยิ่งคันมาก ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ
     ตำแหน่งของผื่น โรคกลากที่เป็นเชื้อราเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งมาก ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ได้แก่
1. กลากของหนังศีรษะและเส้นผม เรียกว่า tinea capitis มักเป็นในเด็กเล็ก ในเด็กวัยเรียน ศีรษะเป็นสะเก็ดลอก ผื่นวงกลม มีน้ำเหลืองเยิ้ม คัน อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฝีชันนะตุ" หรือ kerionหากพบในเด็กโต จะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ผมเปราะหักง่าย มีสะเก็ด หรือเป็นก้อนอักเสบ มีตุ่มหนอง ผมหัก
2. กลากบนใบหน้า เรียกว่า tinea faceii
3. กลากบริเวณลำตัว แขน ขา เรียกว่า tinea corporisลักษณะเป็นผื่นชัดเจนที่มีรูปร่างคล้ายวงแหวน
4. กลากของมือ เรียกว่า tinea manumมักจะเป็นข้างเดียว
5. กลากของฝ่าเท้า เรียกว่า tinea pedisอาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างได้ เกิดจากความอับชื้น ใส่รองเท้า ถุงเท้า เป็นระยะเวลานาน
6. กลากบริเวณขาหนีบ เรียกว่า tinea crurisมักเรียกกลากที่ขาหนีบว่าเป็น "สังคัง" คนที่เป็นสังคังจะคันมาก เวลาเกาจะอายคนอื่น และมักจะต้องเดินขากางๆ บางทีเกาจนถลอก เจ็บแสบมาก
7. กลากของแผ่นเล็บ เรียกว่า tinea unguiumเป็นทั้งเล็บมือ เล็บเท้า ค่อนข้างรักษายากใช้ความอดทน ต้องใช้ระยะเวลานาน เล็บจะมีสีผิดปกติและรูปร่างเล็บผิดปกติ หัก กร่อน เล็บหนาเปราะหักง่าย ยุ่ยเป็นขุย
การติดต่อ
     โรคกลากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ทางการสัมผัสโดยตรง ใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า หวี แปรง หมวก รองเท้า ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน กรรไกรตัดผม ตัดเล็บร่วมกัน หรือติดต่อโดยคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรค หรือคนที่ทำงานสัมผัสกับดิน เช่น ชาวไร่และเกษตรกร กลากทำให้เกิดโรคผิวหนัง เส้นผม หนังศีรษะ รวมทั้งเล็บด้วย 
การรักษา
      การรักษากลากที่เป็นเฉพาะที่อาจใช้ยาทา มียาทาหลายกลุ่มให้เลือกใช้ เช่น โคลไตรมาโซล ไมโคนาโซล คีโตโคนาโซล ไอโซโคนาโซล เป็นต้น ยาบางชนิดทา 2 ครั้ง บางชนิดทาวันละครั้งก็เพียงพอ ส่วนยารับประทานควรใช้ในรายเป็นผื่นบริเวณกว้าง เช่น กริซิโอฟูลวิน คีโตโคนาโซล ไอตราโคนาโซล แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผื่นแต่ละราย หลังจากกินยาหรือทายา ไปประมาณ 5 – 7 วัน ผื่นอาจจะยุบและหายคัน แต่ยังหยุดยาไม่ได้ เพราะเชื้อยังไม่ถูกกำจัดออกไปหมด ต้องกินยาและทายาต่ออีกระยะหนึ่ง ถ้าเป็นที่ผิวหนังต้องใช้ยานานประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นไม่ควรหยุดยาเอง ข้อแนะนำบางประการ
1. ทายา กินยาอย่างสม่ำเสมอ
2. รักษาความสะอาดของผิวหนัง ระวังอย่าให้อับชื้นหลังจากอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้งโดยเฉพาะ บริเวณซอกพับต่างๆ เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ
3. ทำความสะอาด เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า ควรตากแดดให้แห้ง
4. หลีกเลี่ยงไม่สัมผัส คลุกคลี หรือใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า หวี ร่วมกับคนเป็นโรคกลาก
5. ระวังการสัมผัสกับดิน สัตว์เลี้ยง ควรจะล้างมือหรืออาบน้ำให้สะอาดหลังสัมผัส
6. รักษาทุกคนในบ้านที่เป็นกลาก
7. ถ้ามีผื่นผิวหนังที่มีอาการคันและสงสัยว่าจะเป็นโรคกลาก ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง ควรจะไปรับการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้อง
 งานวิจัยและนวัตกรรมที่รองรับ
      ภัทราภา จิตเอื้ออารีย์ รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์การศึกษานำร่องเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขมิ้นชัน 6% กับครีมโคลทรัยมาโซล 1% ในการรักษาโรคกลากที่เท้าในกลุ่มประชากรทหารสาขาวิชาตจวิทยา เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโรคกลากที่เท้าเป็นโรคติดเชื้อราที่พบบ่อยที่สุดและมักเป็นเรื้อรัง พบมากในกลุ่มทหารเนื่องจากต้องสวมรองเท้าท างานอับไว้ทั้งวันโดยรองเท้าจะเป็นตัวก่อให้เกิดความอับชื้น ท าให้กลายเป็นที่เพาะเชื้อราอย่างดี(Johnson, 2000) เชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของโรคกลากที่เท้าได้แก่ ทริโคไฟตอน รูบรัม (Trichophyton rubrum) ทริโคไฟตอน เมนทาโกรไฟต์ (Trichophyton mentagrophytes) อีพิเดอโมไฟตอน ฟลอคโคซุม (Epidermophytonfloccosum)(Abu-Elteen, 1999) การรักษากลากที่เท้านิยมใช้เป็นยาทาเฉพาะที่ แต่ยาทาส่วนใหญ่เป็นสารที่มีราคาแพง พบผลข้างเคียง เช่น อาการแดง คัน แสบร้อน เป็นผื่นบริเวณที่ทายา และยังพบปัญหาเรื่องดื้อยาอีกด้วย(Lee-Bellantoni&Konnikov, 2008) จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า สารประกอบจากขมิ้นชัน ชื่อ เคอร์คูมิน(Curcumin)มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งเอนไซม์ 5 – ไลปอกซีจิเนส (5-lipoxygenase) และไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase) ได้ (Ammon, Safayhi, Mack &Sabieraj, 1993) และส่วนของน้ ามันขมิ้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อราในกลุ่มเดอมาโตไฟต์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลากที่เท้า(WanidaCaichompoo, 1999) นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาทดสอบการระคายเคืองผิวของครีมขมิ้นชัน6%ผสมเคอร์คูมินอยด์0.026% ว่าก่อให้เกิดความระคายเคืองเพียงเล็กน้อย สามารถน ามาใช้ในมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย(PimolratPitakvongsaporn, WandeeGritsanapan, ApichatiSivayathorn&PanvipaKrisadaphong, 2009) แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้ขมิ้นชันในการรักษาผู้ป่วยโรคกลากที่เท้าวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของครีมขมิ้นชัน 6% กับครีมโคลทรัยมาโซล 1% ในการรักษาโรคกลากที่เท้าในกลุ่มประชากรทหารวิธีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาสาสมัครทหารจากกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเกณฑ์ในการคัดเลือก ได้แก่อาสาสมัครทหารเพศชายอายุระหว่าง 18-60 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้วิจัยว่าเป็นโรคกลากที่เท้าชนิดที่เป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้าหรือชนิดที่เป็นตุ่มพองและมีผลเพาะเชื้อยืนยัน เกณฑ์ในการคัดเลือกอาสาสมัครออกจากการวิจัย ได้แก่ โรคกลากที่เท้าชนิดแห้งเป็นสะเก็ดหรือมีเชื้อราที่เล็บร่วมด้วย ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อราชนิดรับประทานหรือชนิดทา ภายใน 6 และ 2 สัปดาห์ตามล าดับ ผู้ที่มีประวัติใช้สเตียรอยด์ หรือยาที่กดภูมิคุ้มกันและผู้ที่มีโรคประจ าตัวเรื้อรังที่เป็นอุปสรรคต่อการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ได้อาสาสมัครทั้งหมด 18 คน มีอายุระหว่าง 21-47 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยสุ่ม กลุ่มที่1 จ านวน 8 คนทาครีมขมิ้นชัน 6% กลุ่มที่ 2 จ านวน 10 คนทาครีมโคลทรัยมาโซล 1% โดยทาบริเวณที่เป็นผื่นวันละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลโดยดูระดับความรุนแรงของผื่น (overall scores)ที่ 0, 2, 4 สัปดาห์และผลการเพาะเชื้อราที่ 0, 4 สัปดาห์การประเมินผลประสิทธิภาพหลัก(primary efficacy) ดูจากผลการเพาะเลี้ยงเชื้อที่ 4 สัปดาห์ประสิทธิภาพรอง(secondary efficacy) ประเมินระดับความรุนแรงของผื่นจากการรวมคะแนนของลักษณะผื่น 6 ลักษณะ คือ ความแดง,ขุย, ตุ่มน้ าใส, ตุ่มหัวหนอง, สะเก็ดผิวหนังและอาการคัน แต่ละลักษณะมีคะแนนตั้งแต่ 0-3 ประสิทธิภาพในการรักษา(effective treatment) ประเมินที่สัปดาห์ที่ 4 หลังการรักษา โดยประเมินจากผลการเพาะเลี้ยงเชื้อไม่ขึ้น ร่วมกับระดับความรุนแรงของผื่นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 โดยที่ต้องไม่มีอาการใดที่มีระดับคะแนนมากกว่า 1 การหายขาด(complete cure) ประเมินที่สัปดาห์ที่ 4 หลังการรักษา โดยประเมินจากผลการเพาะเลี้ยงเชื้อไม่ขึ้น ร่วมกับระดับความรุนแรงของผื่นเท่ากับ 0 ผลการศึกษาลักษณะโดยทั่วไปของกลุ่มประชากรอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมขมิ้นชัน6% พบว่าชนิดของโรคกลากที่เท้าชนิดที่เป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้า 3 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 และชนิดที่เป็นตุ่มพอง 5 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ชนิดของเชื้อที่พบคือ ทริโคไฟตอน เมนทาโกรไฟต์ สายพันธุ์เมนทาโกรไฟต์7 คน คิดเป็นร้อยละ 87.5และทริโคไฟตอน เมนทาโกรไฟต์ สายพันธุ์อินเตอดิจิเทต 1 คน คิดเป็นร้อยละ12.5 กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมโคลทรัยมาโซล 1% พบชนิดของโรคกลากที่เท้าชนิดที่เป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้า 5 คนคิดเป็นร้อยละ50 และชนิดที่เป็นตุ่มพอง 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ชนิดของเชื้อที่พบคือทริโคไฟตอน เมนทาโกรไฟต์สายพันธุ์เมนทาโกรไฟต์9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 และ อีพิเดอโมไฟตอน ฟลอคโคซุม1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ผลการวิจัยตารางที่ 1 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของผื่นในช่วงระยะเวลาต่างๆของอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมขมิ้นชัน 6% และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมโคลทรัยมาโซล 1% overall scores ครีมขมิ้นชัน 6% (n=8) ครีมโคลทรัยมาโซล 1% (n=10) P-value ก่อนเริ่มการรักษาสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 4.88 ± 1.81 2.62 ± 1.30 1.37 ± 1.19 5.30 ± 1.70 2.50 ± 1.90 1.30 ± 1.34 การเปลี่ยนแปลงที่สัปดาห์ที่ 2 เทียบกับก่อนรักษา 2.25 ± 1.39 2.80 ± 1.14 0.424 การเปลี่ยนแปลงที่สัปดาห์ที่ 4 เทียบกับก่อนรักษา 3.50 ± 1.41 4.00 ± 1.05 0.647 จากตารางที่ 1 ให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของผื่นของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมขมิ้นชัน 6% ที่ก่อนรับการรักษา สัปดาห์ที่ 2 และ 4 หลังจากรักษามีค่าเท่ากับ 4.88, 2.62 และ 1.37 ตามล าดับ ค่าเฉลี่ยของระดับความรุนแรงของผื่นในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมโคลทรัยมาโซล 1% ที่ก่อนรับการรักษา สัปดาห์ที่ 2 และ 4 หลังจากรักษามีค่าเท่ากับ 5.30, 2.50 และ 1.30 ตามล าดับ ค่าเฉลี่ยของการลดลงของระดับความรุนแรงของผื่นที่สัปดาห์ที่ 2 เปรียบเทียบกับก่อนรักษาของกลุ่มที่ทาครีมขมิ้นชัน 6% และครีมโคลทรัยมาโซล 1% มีค่าเท่ากับ 2.25 และ 2.80 ตามล าดับ ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.424) สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเท่ากับ 3.50 และ 4.00 ตามล าดับ ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.647) ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพหลัก, ประสิทธิภาพในการรักษาและการหายขาดของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยครีมขมิ้นชัน 6% และครีมโคลทรัยมาโซล 1% ครีมขมิ้นชัน 6% (n=8) ครีมโคลทรัยมาโซล 1% (n=10) P-value primary efficacy -Negative culture -Positive culture 7(87.5%) 1(12.5%) 9(90.0%) 1(10.0%) 1.000 effective treatment -Yes -No 5(62.5%) 3(37.5%) 7(70.0%) 3(30.0%) 1.000 complete cure -Yes -No 2(25.0%) 6(75.0%) 3(30.0%) 7(70.0%) 1.000 จากตารางที่ 2 จะให้เห็นได้ว่า ผลประสิทธิภาพหลัก, ประสิทธิภาพในการรักษา การหายขาดของกลุ่มที่ทาครีมขมิ้นชัน 6% และครีมโคลทรัยมาโซล 1% มีค่าเท่ากับ 87.5%, 62.5%, 25% และ 90%, 70%, 30% ตามล าดับ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ(p= 1.00, 1.00, 1.00 ตามล าดับ) และไม่พบอาการข้างเคียงจากการรักษาในทั้ง 2 กลุ่มสรุปผลครีมขมิ้นชัน 6% และครีมโคลทรัยมาโซล 1% มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกลากที่เท้าชนิดที่เป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้าและชนิดที่เป็นตุ่มพองได้อภิปรายผลการทดลองงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของครีมขมิ้นชัน 6% กับครีมโคลทรัยมาโซล 1% ในการรักษาโรคกลากที่เท้า พบว่าระดับความรุนแรงของผื่นที่ลดลงเนื่องจากทั้งขมิ้นชันและโคลทรัยมาโซลมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ โดยขมิ้นชันจะยับยั้งเอนไซม์ 5-ไลปอกซีจิเนสและไซโคลออกซิจิเนส (Ammon, Safayhi, Mack &Sabieraj, 1993)ส่วนโคลทรัยมาโซลจะยับยั้งกระบวนการอักเสบ , การสร้างลิวโคไทรอีนและพรอสตาแกรนดินรวมถึงลดการหลั่งฮีสตามีน (Rosen & Schell, 1997) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มมีประสิทธิภาพหลัก ไม่แตกต่างกันทางสถิติเนื่องจาก ทั้งครีมขมิ้นชันและครีมโคลทรัยมาโซลมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา จากการทดลองให้ห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลองพบว่าครีมขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านเชื้อกลากจ าพวกทริโคไฟตอน เมนทาโกรไฟต์และอีพิเดอโมไฟตอน ฟลอคโคซุม (WanidaCaichompoo, 1999)ซึ่งพบได้ในอาสาสมัคร ส่วนยาโคลทรัยมาโซลจะลดการสร้างเออโกสเตอรอล ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ส าคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อรา โดยจะยับยั้งการท างานของเอนไซม์ลาโนสเตอรอลดีเมทิลเลส ท าให้ลาโนสเตอรอลไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเออโกสเตอรอลได้ จึงเกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราแต่ถ้าระดับเออโกสเตอรอลลดลงมากกว่า 90% จะท าให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ (Borgers, 1980) อาสาสมัครที่ประสิทธิภาพในการรักษาและการหายขาด มีจ านวนน้อยกว่าอาสาสมัครที่มีประสิทธิภาพหลักซึ่งหมายความได้ว่ามีอาสาสมัครบางส่วนที่ผลการเพาะเชื้อราไม่ขึ้น แต่ลักษณะผื่นยังไม่หายขาด เนื่องมาจากอาสาสมัครอาจไม่ได้ทาครีมตามที่ผู้วิจัยกาหนดคือทาบ้างไม่ทาบ้าง ท าให้มีลักษณะของการรักษาบางส่วน (partial treatment) เกิดขึ้นส่งผลให้เมื่อขูดผื่นไปส่งเพาะเชื้อไม่ขึ้นเชื้อแล้ว แต่ผิวหนังยังมีผื่นปรากฏอยู่ ขมิ้น ขมิ้นชัน ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ Turmeric ขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้นหมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน เมื่อได้เหง้ามาแล้ว หากจะนำไปรับประทานเพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน และไม่ต้องปอกเปลือก แต่หั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำไปตากแดดสัก 2 วันแล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ เท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำมารับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3 เม็ด หลังอาหารและช่วงก่อนนอน หรือจะนำเหง้าแก่มาขูดเอาเปลือกออกแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หากนำขมิ้นมาใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้มสุก แล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือจะนำเอาผงขมิ้นมาโรยก็ใช้ได้เช่นกัน สรรพคุณของขมิ้น
1. ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
4. ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
5. ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
7. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
8. มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9. ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
10. ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11. ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
12. ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
13. อาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรครูมาตอยด์ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)
14. ช่วยลดการอักเสบ
15. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
16. ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
17. ช่วยบรรเทาอาการไอ
18. ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
19. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
20. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี 21. ช่วยรักษาแผลที่ปาก 22. ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
23. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
24. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา
25. ช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
26. ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
27. ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
28. ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
29. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
30. ช่วยในการขับลม
31. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
32. มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
33. ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
34. ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
35. ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
37. ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
38. ช่วยแก้อาการตกขาว
39. ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
40. ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
41. ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย 
42. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
43. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
44. ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
45. ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
46. มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
47. ช่วยต่อต้านปรสิตหรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
48. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
49. มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
50. ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล และยังช่วยให้บาดแผลไม่ให้ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื้อหายได้ 51. ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
52. ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีตเมนต์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้น ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน นำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
53. ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีตเม้นต์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
54. ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องสำอางบำรุงผิวต่าง ๆ
55. นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย

ขมิ้นขึ้น
ตัวยืนสมุนไพรคู่บ้านคนไทย ขมิ้นขึ้น เป็นชื่อที่คนไทยใหญ่ คนลาว คนล้านนา คนไทยเขมร(ในยุคเจ้าพระยาอภัยภูเบศร) ใช้เรียกขมิ้นอ้อย หนึ่งในพืชตระกูลขมิ้นซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตคนตระกูลไทมาช้านาน ไม่ว่าคนไทจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ไหน ตั้งแต่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย รัฐฉานของพม่า จนถึงยูนานของจีน จะพบว่า เข้ามิ้น ขมิ้น หรือมิ่น เป็นสมุนไพรคู่บ้านของคนไทเสมอ ชนิดพันธุ์ของขมิ้นมีอยู่หลากหลาย เช่น ขมิ้นขึ้น(ขมิ้นอ้อย) ขมิ้น(ขมิ้นชันหรือขมิ้นน้อย) ขมิ้นขาว ขมิ้นไข ขมิ้นขม ขมิ้นดำ ขมิ้นสล้าง(ไพลหรือว่านไฟ) ขมิ้นแป้ง ขมิ้นดักแด้ ขมิ้นชั้น แต่ละชนิดมีสายพันธุ์แยกย่อยลงไปอีกในแต่ละพื้นที่ แต่สามชนิดหลักๆ ที่พบได้ในทุกท้องถิ่นของคนไทย ได้แก่ ขมิ้นขึ้น ขมิ้น และขมิ้นสล้าง(ว่านไฟ) ดังจะเห็นชื่อของขมิ้นทั้งสามปรากฏอยู่ในตำรายาโบราณเสมอ มีขมิ้นขึ้นและว่านไฟนำโด่งชนิดอื่นๆ ในการรักษาอาการฟกช้ำ บวม แก้ปวด แก้อักเสบ โดยเฉพาะในตำรับยาประคบ ยาอบหรือยาฉปุง ยาอาบ ยานวด และยาย่าง ขมิ้นขึ้น รักษาฝีภายใน พ่อหมอแม่หมอทั้งหลายบอกตรงกันว่า ขมิ้นขึ้นกับขมิ้นน้อยนั้นคู่กัน คือใช้แทนกันได้ แต่ขมิ้นขึ้นนิยมใช้ในยาเด็ก ยารักษาฝีภายนอก ฝีภายใน เช่น ฝีหัวปอด ฝีในมดลูก คำว่า ฝี ของหมอยาในอดีตนั้น ถ้าเป็นฝีภายนอก จะเป็นฝีอย่างที่ปัจจุบันเข้าใจกัน แต่ฝีภายในหมายถึงโรคเรื้อรังที่มีอาการเจ็บปวด บวมบริเวณอวัยวะภายในซึ่งปัจจุบันอาจหมายถึงมะเร็ง เนื้องอก หรือบางครั้งหมายถึงการติดเชื้อ เช่น ฝีหัวปอดหมายถึงวัณโรค เป็นต้น ส่วนขมิ้นน้อย(ขมิ้นชัน) ซึ่งมีรสชาติดีกว่า หอมกว่า นิยมใส่เป็นเครื่องเทศในอาหาร ในทางยาจะใช้ขมิ้นน้อยเป็นยาบำรุงผิว รักษาบาดแผล ขมิ้นขึ้น ว่านเหลือง ประเทืองผิว คนแถวปราจีนบุรีเดิมเรียกขมิ้นขึ้นว่า ว่านเหลือง ในเขตต่อจังหวัดปราจีนบุรีกับฉะเชิงเทรา ที่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีหมู่บ้านชื่อบ้านหนองว่านเหลือง เล่ากันว่าสมัยก่อนบริเวณนั้นมีหนองน้ำธรรมชาติที่มีขมิ้นขึ้นหรือว่านเหลืองขึ้นอยู่เต็มไปหมด ในอดีตคนปราจีนบุรีมักจะปลูกต้นว่านเหลืองไว้หน้าบ้าน ถือว่าเป็นทั้งยากินแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ปวดประจำเดือน ใช้เป็นยาประคบ อบ อาบ และใช้เป็นสบู่อาบน้ำถูตัวทำให้ผิวขาวใส นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฝนทาแผล ผดผื่นคัน ใช้ได้ทั้งคนและไก่
 อ้างอิง
https://www.pobpad.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81 http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/skin/1254-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81.html https://medthai.com/%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/
http://www.rakkhaoyai.com/jungle-path/5301 http://anti-aging.mfu.ac.th//File_PDF/Research_PDF/13_Dermato.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น